ต๊ะ ท่าหลา

13/10/65

กฐิน

กฐินไม่ใช่เงินทอง กฐิน หมายถึง ผ้าผืนใดผืนหนึ่งใน ๓ ผืน (สบง จีวร หรือสังฆาฏิ) ไม่ได้หมายถึง เงินหรือทอง (ตามที่เข้าใจกันเป็นส่วนมากในปัจจุบัน) กฐิน (บาลี: กฐิน) เป็นศัพท์ในพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นชื่อเรียกผ้าไตรจีวรที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว สามารถรับมานุ่งห่มได้[1] โดยคำว่าการทอดกฐิน หรือการกรานกฐิน จัดเป็นสังฆกรรมประเภทหนึ่งตามพระวินัยบัญญัติเถรวาทที่มีกำหนดเวลา คือพระสงฆ์สามารถกระทำสังฆกรรมนี้ได้นับแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เท่านั้น โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ และอนุเคราะห์ภิกษุผู้ทรงคุณที่มีจีวรชำรุด1 ดังนั้นกฐินจึงจัดเป็นเรื่องเกี่ยวกับสังฆกรรมของพระสงฆ์โดยจำเพาะ ซึ่งนอกจากในพระวินัยฝ่ายเถรวาทแล้ว กฐินยังมีในฝ่ายมหายานบางนิกายอีกด้วย แต่จะมีข้อกำหนดแตกต่างจากพระวินัยเถรวาท[2] การได้มาของผ้าไตรจีวรอันจะนำมากรานกฐินตามพระวินัยบัญญัติของเถรวาทนี้ พระพุทธองค์ไม่ทรงห้ามการรับผ้าจากผู้ศรัทธาเพื่อนำมากรานกฐิน[1] ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้เกิดทานพิธีการถวายผ้ากฐิน หรือการทอดกฐินของพุทธศาสนิกชนขึ้น และด้วยการที่การถวายผ้ากฐินนั้น จัดเป็นสังฆทาน คือถวายแก่คณะสงฆ์โดยไม่เจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เพื่อให้คณะสงฆ์นำผ้าไปอปโลกน์ ยกให้ แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งตามที่คณะสงฆ์ลงมติ (ญัตติทุติยกรรมวาจา) และกาลทาน ที่มีกำหนดเขตเวลาถวายแน่นอน คณะสงฆ์วัดหนึ่ง ๆ สามารถรับได้ครั้งเดียวในรอบปี จึงทำให้ประเพณีการทอดกฐินเป็นบุญประเพณีนิยมที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย ประเพณีการทอดกฐินของพุทธศาสนิกชนไทยมีมาช้านาน โดยมีทั้งพิธีหลวงและพิธีราษฎร์ โดยการถวายผ้าพระกฐินของพระมหากษัตริย์จัดเป็นพระราชพิธีที่สำคัญประจำปี ในปัจจุบันถวายผ้ากฐินในแง่การสนับสนุนผ้าไตรจีวรเพื่อใช้ในสังฆกรรมสำคัญของคณะสงฆ์ได้ถูกลดความสำคัญลงไป แต่กลับให้ความสำคัญกับบริวารของกฐินทานแทน เช่น เงิน หรือวัตถุสิ่งของ เพื่อนำสิ่งเหล่านี้มาพัฒนาถาวรวัตถุและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา กฐินมีกำหนดระยะเวลาถวาย จะถวายตลอดไปเหมือนผ้าชนิดอื่นมิได้ ระยะเวลานั้นมีเพียง 1 เดือน คือตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 (วันเพ็ญเดือน 12) ระยะเวลานี้เรียกว่า กฐินกาล คือระยะเวลา ทอดกฐิน หรือ เทศกาลทอดกฐิน เครื่องกฐินที่สำคัญ คือ อัฏฐบริขาร ๘ ได้แก่ : ไตรจีวร (สบง จีวร สังฆาฏิ) ประคดเอว บาตร มีดโกน เข็ม (รวมถึงกล่องเข็ม) ด้าย เครื่องกรองน้ำ (ธมกรก) จากความเข้าใจผิดว่า การทอดกฐินจะต้องใช้เงินทองจำนวนมาก กฐิน กลายเป็นหมายถึง เงินทองต้องหาเงินให้วัดเป็นจำนวนมากๆจึงจะทำ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดอย่างร้ายแรง เนื่องจากการปลูกฝังความเข้าใจผิดนี้ มีต่อเนื่องกันมาเป็นเวลายาวนาน ถ้าได้อ่านสิกขาในพระพุทธธรรมคำสอนแล้วจะรู้ว่า กฐิน หมายถึง ผ้าผืนใดผืนหนึ่งใน ๓ ผืน (สบง จีวร สังฆาฏิ) ไม่ใช่หมายถึงเงินทอง ดังนั้น เมื่อเกิดความเข้าใจผิด ทำให้ไม่มีผู้ใดกล้าไปทอดกฐิน เพราะไม่สามารถจะหาเงินทองจำนวนมากๆ มาถวายวัดได้ จะเห็นว่ามีวัดเป็นจำนวนมากที่ไม่มีผู้จองกฐิน ทำให้พระภิกษุขาดอานิสงส์กฐิน ๕ ประการ ถ้าพุทธศาสนิกชนได้รับความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องกฐิน วัดในประเทศไทย ๓๐,๐๐๐ กว่าวัด ถ้ามีพระภิกษุครบ ๕ รูป จำพรรษาครบ ๓ เดือนในแต่ละวัด ก็จะสามารถรับกฐินได้ เพราะกฐินคือผ้า ไม่ใช่เงินทอง ซึ่งทายก ทายิกา ของแต่ละวัดก็สามารถที่จะหาผ้ากฐินผืนใดผืนหนึ่งใน ๓ ผืน มาทอดได้ โดยไม่ต้องใช้เงินทองจำนวนมาก จะทำให้เจ้าภาพและพระภิกษุได้รับอานิสงส์ของกฐิน ส่วนการทำบุญสังฆทานวิหารทานอื่นๆ สามารถทำได้ในโอกาสต่อไป กฐินไม่ใช่เงินทอง กฐิน หมายถึง ผ้าผืนใดผืนหนึ่งใน ๓ ผืน (สบง จีวร หรือสังฆาฏิ) ไม่ได้หมายถึง เงินหรือทอง (ตามที่เข้าใจกันเป็นส่วนมากในปัจจุบัน) เครื่องกฐินที่สำคัญ คือ อัฏฐบริขาร ๘ ได้แก่ : ไตรจีวร (สบง จีวร สังฆาฏิ) ประคดเอว บาตร มีดโกน เข็ม (รวมถึงกล่องเข็ม) ด้าย เครื่องกรองน้ำ (ธมกรก) อสัทธรรมภิกษุ พระภิกษุในวัดใด ที่ไม่ได้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า เจริญธรรมในสำนักของพระพุทธองค์ ไม่ได้สิกขาพระพุทธธรรมคำสอน ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แต่กระทำตนเป็นเกจิอาจารย์ ปลุกเสก สักเลข สักยันต์ ลงอาคม ทำเครื่องลางของขลัง อยู่ยงคงกระพัน เป็นหมอดู โชคชะตาราศี เป็นหมอทำนายทายทัก เป็นหมอดูดวงต่างๆ แก้เวร แก้กรรม สะเดาะเคราะห์ สะเดาะโศก สะเดาะโรค สะเดาะภัยทั้งหลาย ทำเล่ห์เสน่ห์ยาแฝด เป็นร่างทรงต่างๆ ตั้งศาลบวงสรวง ภูติผีปีศาจ วิชาไสยศาสตร์ทั้งปวง ล้วนไม่ใช่พุทธสาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า สมควรที่จะลาสิกขาบท ออกไปจากความเป็นพระภิกษุ ไปอยู่เป็นคฤหัสถ์ ประกอบอาชีพตามความถนัดของตนต่อไป (เหมือน ภิกษุพม่าหากเข้าข่ายอสัทธรรม จะลาสิกขาบทไปเป็นฤษี ฯลฯ) การประกาศขอกฐิน โดยพระภิกษุในวัดรูปใดรูปหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นทางวาจาโดยตรง หรือโฆษณาทางสื่อต่างๆ เช่นวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ ให้มาทอดกฐินที่วัดของตน ๆ กฐินนั้นเดาะไม่เป็นกฐินเพราะผิดพระวินัย

6/8/64

กาลามสูตร หลักธรรมในพระพุทธศาสนานี้พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ ที่อาศัยอยู่ในเกสปุตตนิคม แคว้นโกศล เนื่องจากในสมัยนั้นมีผู้อวดอ้างตนในคุณวิเศษกันมาก เชิดชูแต่ลัทธิของตัว พูดจากระทบกระเทียบดูหมิ่นลัทธิอื่น พร้อมทั้งชักจูงมิให้เชื่อลัทธิอื่น เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จถึงเกสปุตตนิคมดินแดนที่เต็มไปด้วยผู้อวดอ้าง ชาวกาลามะได้ทูลถามด้วยความสงสัยว่าใครพูดจริง ใครพูดเท็จ? พระพุทธองค์จึงทรงแสดงกาลามสูตร ว่าด้วย วิธีปฏิบัติต่อสิ่งที่ตนสงสัย หรือหลักความเชื่อ 10 ประการ เป็นหลักตัดสิน คือ 1,อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามๆ กันมา 2,อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา 3,อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ 4.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
5.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก 6.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน 7.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล 8.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว 9,อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ 10.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้ เป็นครูของเรา เมื่อใดสอบสวนจนรู้ได้ด้วยตนเองว่า..ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศลหรือมีโทษเมื่อนั้นพึงละเสีย และเมื่อใดสอบสวนจนรู้ได้ด้วยตนเองว่า..ธรรมเหล่านั้นเป็นกุศลหรือไม่มีโทษ เมื่อนั้นพึงถือปฏิบัติ ดังนั้น พระสูตรนี้ท่านมิได้ห้ามมิให้เชื่อ แต่ให้เชื่อด้วยมีปัญญาประกอบด้วย มิฉะนั้นความเชื่อต่างๆ จะไม่พ้น “ความงมงาย” และไม่พึงแปลความเลยเถิดไปว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนไม่ให้เชื่อสิ่งเหล่านี้ และให้เชื่อสิ่งอื่นนอกจากนี้ แต่พึงเข้าใจว่า แม้แต่สิ่งเหล่านี้ซึ่งบางอย่างก็เลือกเอามาแล้วว่า.. เป็นสิ่งที่น่าเชื่อที่สุด ท่านก็ยังเตือนไม่ให้ปลงใจเชื่อ ไม่ให้ด่วนเชื่อ ไม่ให้ถือเป็นเครื่องตัดสินเด็ดขาด ยังอาจผิดพลาดได้ ต้องใช้ปัญญาคิดพิจารณาให้ดีก่อน .. แล้วสิ่งอื่น คนอื่นเราจะต้องคิดต้องพิจารณา ระมัดระวังให้มากสักเพียงไหน??วิธีปฏิบัติต่อสิ่งที่ตนสงสัยหรือหลักความเชื่อ 10 ประการ (กาลามสูตร) ที่มา : หนังสือ “พระไตรปิฎก ฉบับดับทุกข์” จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์สุขภาพใจ (หน้า 41-42), หนังสือ “พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน ย่อความจากพระไตรปิกฉบับบาลี 45 เล่ม” (หน้า 510) จัดทำโดย สุชีพ ุญญานุภาพ, หนังสือ “ธรรมาธิบาย หลักธรรมในพระไตรปิฎก” (หน้า 620 – 621) เรียบเรียงโดย อาจารย์ปัญญา ใช้บางยาง และคณะ รวบรวมข้อมูลโดย : งานพัฒนาและจัดการสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศห้องสมุด Facebook Twitter Line

21/4/64

ประชุมขับเคลื่อนโรงเรียนหัวแข็ง โรงเรียนดีไม่มีอบายมุข ที่โรงเรียนเขาพังไกร

ประชุมขับเคลื่อนโรงเรียนหัวแข็ง โรงเรียนดีไม่มีอบายมุข ที่โรงเรียนเขาพังไกร โดยได้รับความร่วมมือกับผู้นำชุมชน ผุ้ใหญ่เขียวหมู่ที่ 2 ผู้ใหญ่เผย หมูที่ 1 เจ้าอาวาสวัดบูรณาวาส ตลอดจนพ่อแม่พี่น้องชาวเขาพังไกร

13/12/62

โรงเรียนสีขาว โรงเรียนดีไม่มีอบายมุข


โรงเรียนบ้านน้ำร้อนโรงเรียนดีไม่มีอบายมุข
เตรียมความพร้อมรับการประเมินโรงเรียนสีขาว
ในวันที่ 17 ธันวามคม 2562


















20/5/60

การศึกษาที่ดีที่สุดในโลก

7 เหตุผลที่ฟินแลนด์มีการศึกษาดีที่สุดในโลก

1.
1. แข่งขันไม่สำคัญเท่าร่วมมือ
โรงเรียนในฟินแลนด์ไม่จำเป็นต้องแข่งขันกันสร้างชื่อเสียงเพื่อแย่งนักเรียน เพราะไม่มีโรงเรียนเอกชนในประเทศเลย ทุกสถาบันการศึกษาดำเนินการโดยงบประมาณจากภาครัฐ การร่วมมือกันระหว่างโรงเรียนและมหาวิทยาลัยจึงเป็นไปอย่างราบรื่น แต่การไร้การแข่งขัน ไม่ทำให้ครูสอนเด็กอย่างเฉื่อยชาหรือโรงเรียนจัดการเรียนการสอนอย่างด้อยคุณภาพ ในทางตรงกันข้าม โรงเรียนและครูต่างมีพันธสัญญาในการทำหน้าที่อย่างดีที่สุด โดยไม่จำเป็นต้องมีการทดสอบมาตรฐานด้วยซ้ำ
2. ครูเป็นอาชีพมีศักดิ์ศรีและรายได้สูง
เหตุที่ครูในฟินแลนด์ไม่จำเป็นต้องถูกตรวจสอบมาตรฐานและมีการแข่งขันกันเพื่อให้ทำงานได้มาตรฐาน ก็เป็นเพราะอาชีพครูในฟินแลนด์เป็นอาชีพที่ได้รับความเคารพ และเงินเดือนสูง ทำให้มีการแข่งขันกันอย่างเข้มข้น โดยอัตราผู้สอบเข้าบรรจุครูได้ อยู่ที่ร้อยละ 7 เท่านั้น ผลก็คือผู้ที่จะเป็นครู ต้องเป็นบุคลากรระดับหัวกะทิของประเทศ ในฐานะที่ฟินแลนด์ให้ความสำคัญกับการลงทุนพัฒนาทรัพยากรบุคคล ผู้ที่จะเข้ามาเป็นครูได้ต้องจบการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป และนักศึกษาครูจะต้องผ่านการฝึกสอนกับโรงเรียนสาธิตของมหาวิทยาลัยของตนเองก่อน เช่นเดียวกับระบบการเรียนของคณะแพทยศาสตร์ที่ต้องให้นักศึกษาแพทย์ฝึกรักษาจริงก่อนจบการศึกษา และแม้ฟินแลนด์จะกำลังเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจหนักหน่วง แต่ก็ไม่มีการประนีประนอมมาตรฐานในด้านการคัดเลือกและฝึกอบรมครู
3. การศึกษาอยู่บนรากฐานของงานวิจัย
ในสหรัฐฯ รวมถึงอีกหลายๆประเทศ งานวิจัยที่ว่าทฤษฎีใดจะสามารถพัฒนาการเรียนการสอนได้ มักไม่ถูกนำมาใช้จริง เนื่องจากการเมืองภายในของสถาบันการศึกษาต่างๆ แต่ในฟินแลนด์ งานวิจัยเหล่านี้ถูกนำมาปรับใช้อย่างจริงจัง กระทรวงศึกษาธิการฟินแลนด์ตัดสินใจออกนโยบายโดยอิงกับงานวิจัยเหล่านี้แทบจะร้อยเปอร์เซ็นต์ หากงานวิจัยใดพิสูจน์ได้อย่างเป็นรูปธรรมว่าการเรียนการสอนแบบใดมีประสิทธิภาพ ก็จะถูกนำมาปรับเป็นนโยบายทันที หรือเรียกง่ายๆว่านโยบายการศึกษาในฟินแลนด์ขับเคลื่อนไปอย่างมืออาชีพ ไม่ใช่ขับเคลื่อนโดยการเมือง
4. ฟินแลนด์ไม่กลัวที่จะทดลอง
ครูฟินแลนด์ได้รับการสนับสนุนให้ถือห้องเรียนเป็นห้องทดลอง ไม่ว่าจะเป็นการสอนหรือกิจกรรมแบบไหน ก็สามารถเกิดขึ้นได้ในห้องเรียนหากครูและนักเรียนเห็นว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจ อะไรที่ไม่ได้ผลก็จะถูกยกเลิก และเปลี่ยนไปสู่การทดลองใหม่ๆทันที แต่การเรียนการสอนก็ยังดำเนินต่อไปได้ โดยมีงานวิจัยหลักๆและนโยบายของรัฐบาลเป็นแกนกลาง ทั้งหมดนี้ทำให้ห้องเรียนฟินแลนด์สร้างสรรค์ ไม่น่าเบื่อ และทันสมัยอยู่เสมอ ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับนักเรียนเอง
5. เวลาเล่นศักดิ์สิทธิ์เท่าเวลาเรียนครูฟินแลนด์ทุกคนต้องทำตามกฎกระทรวงศึกษาธิการ ที่ระบุว่าใน 1 ชั่วโมงเรียน ต้องแบ่งเป็นการสอนจากครู 45 นาที และการเล่น 15 นาที อันเนื่องมาจากทฤษฎีรากฐานของการศึกษาฟินแลนด์ที่ว่าเด็กควรต้องรักษาความเป็นเด็กไว้ให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ ไม่จำเป็นต้องรีบโตขึ้นมาเป็นนักท่องจำหรือนักทำข้อสอบ แนวคิดเรื่องการให้เด็กมีเวลาเล่นในระหว่างวัน ได้รับการพิสูจน์จากงานวิจัยจำนวนมากที่พบว่าเด็กที่ได้พักเล่นระหว่างเรียน จะมีความประพฤติและผลการเรียนดีกว่าเด็กที่ไม่มีเวลาเล่น
6. เด็กมีการบ้านน้อยมาก
โรงเรียนฟินแลนด์ให้ทุกอย่างกับเด็ก ยกเว้นการบ้าน แนวปฏิบัตินี้มาจากรากฐานของความเชื่อมั่นและเคารพซึ่งกันและกันระหว่างครู ผู้ปกครอง และโรงเรียน พ่อแม่และโรงเรียนเชื่อมั่นว่าครูได้ใช้เวลาในห้องเรียนอย่างเต็มประสิทธิภาพเพียงพอแล้วในการสั่งสอนความรู้ การทำการบ้านนอกเวลาเรียนจึงถูกมองว่าไม่จำเป็น และเวลาที่เด็กอยู่บ้าน ควรมีไว้เพื่อการเรียนรู้ถึงการใช้ชีวิตและอยู่กับครอบครัว ซึ่งสำคัญไม่แพ้การเรียน
7. อนุบาลเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน
การศึกษาที่ดีควรเริ่มต้นตั้งแต่วัยเด็กที่สุด และฟินแลนด์เป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในโลกที่มีการศึกษาฟรีที่ได้มาตรฐานสูงตั้งแต่ระดับเดย์แคร์ เนิร์สเซอรี และอนุบาล และเด็กอายุ 3-6 ปีของฟินแลนด์กว่าร้อยละ 97 ก็ได้ใช้สวัสดิการโรงเรียนอนุบาล ที่สำคัญ โรงเรียนอนุบาลและเนิร์สเซอรีทั่วประเทศยังดำเนินการใต้มาตรฐานเดียวกันของรัฐ เตรียมความพร้อมเด็กไปสู่โรงเรียนประถมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะในเมืองหลวงหรือชนบท