ต๊ะ ท่าหลา

28/12/52

ใบงานที่ 3

การจัดการความรู้
บทบาทใหม่ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์
1. ผู้ดูแลทุนมนุษย์ ( Human Capital Steward )
2. ผู้ประสานสัมพันธ์ ( Knowledge Facilitator )
3. ผู้อำนวยความรู้ ( Relationship Bulder )
4. ผู้มีอาชีพที่เฉพาะ ( Raped Deployment Sepecidist
ความรู้คืออะไร
1. Knowledge Capital เป็นต้นทุน องค์กร ทรัพยากรมนุษย์
2. ความสามารถในการทำให้สารสนเทศ และข้อมูลมาเป็นการกระทำที่มีประสิทธิภาพได้

3. ส่วนผสมของกรอบประสบการณ์ คุณค่า สารสนเทศ และความเชี่ยวชาญข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ ความเฉลียวฉลาด และเชาว์ปัญญาข้อมูล ข้อมูลดิบที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผล กลุ่มของข้อมูลดิบที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานสารสนเทศ ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว ผลรวมของข้อมูลที่มีความหมายความรู้ ผลจากการขัดเกลาและเลือกใช้สารสนเทศโดยมีการจัดระบบความคิด เกิดเป็นความรู้ และความเชี่ยวชาญความเฉลียวฉลาด การนำเอาความรู้ต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันเพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์ ต่อทำงานในสาขาต่างๆเชาว์ปัญญา ผลจากการปรับแต่งและจดจำความเฉลียวฉลาดต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดความคิดที่ฉับไวรูปแบบของความรู้ประเภทของความรู้กับการจัดการรู้ความรู้อาจแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
ความรู้เด่นชัด (Explicit Knowledge) คือ ความรู้ที่อยู่ในรูปแบบที่เป็นเอกสาร หรือ วิชาการ อยู่ในตำรา การจัดการจะเน้นการเข้าถึงแหล่งความรู้ ตรวจสอบและตีความได้ เมื่อนำไปใช้จะเกิดความรู้ใหม่ เพื่อให้ผู้อื่นใช้อ้างอิงต่อไปความรู้ซ่อนเร้น (Tacit Knowledge) เป็นความรู้แฝงอยู่ในตัวคน เป็นประสบการณ์ที่สั่งสม มายาวนาน เป็นภูมิปัญญา การจัดการความรู้แบบนี้ จะเน้นที่การจัดเวทีเพื่อให้มีการแบ่งปันความรู้ที่มีอยู่ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน อันนำไปสู่ความรู้ใหม่ที่จะนำไปใช้งานต่อไปซึ่งในสภาพความเป็นจริง ความรู้ทั้ง 2 ประเภทเหล่านี้ มีการสับเปลี่ยนสภาพกันตลอดเวลา การจัดการความรู้ จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพความรู้เช่นโมเดลปลาทู การจัดการความรู้ในรูปแบบของ “โมเดลปลาทู” ที่แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัวปลา หรือส่วนของเป้าหมายของการจัดการความรู้ (Knowledge Management Vision), ส่วนของตัวปลา หรือส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing) และส่วนของหางปลา หรือตัวคลังความรู้ (Knowledge Assets)กระบวนการจัดการความรู้
1. กำหนดสิ่งที่ต้องการเรียนรู้
2. แสวงหาความรู้
3. จัดเก็บ และศึกษาหาความรู้
4. การสร้างความรู้
5. การประมวลและกลั่นกรองความรู้
6. การถ่ายโอนและกลั่นกรองความรู้
7. การแบ่งความรู้การวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้
7.1. การจับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ
7.2. การวิเคราะห์ความรู้ที่จับได้
7.3. การตรวจสอบความถูกต้องของความรู้
7.4. การสังเคราะห์ให้เหมาะสมกับการใช้งานสร้างระบบสารสนเทศ
จัดการเรียนรู้การจัดเก็บความรู้เป็นระบบการค้นหาและเรียกใช้ความรู้การให้ความรู้ร่วมกันและการกระจายความรู้ความรู้ที่ฝังอยู่ในคนCOP ย่อมาจาก Community of Practice หมายถึง ชุมชนนักปฏิบัติ หรือ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่รวบรวมกลุ่มคนที่มีความรู้ความสนใจในเรื่องเดียวกัน มาร่วมแลกเปลี่ยน แบ่งปัน เรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ ร่วมกัน เพื่อได้มาซึ่ง Knowledge Assets : KA หรือ ขุมความรู้ ในเรื่องนั้น ๆ สำหรับคนในชุมชนเพื่อไปทดลองใช้ แล้วนำผลที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิก อันส่งผลให้ความรู้นั้น ๆ ถูกยกระดับขึ้นเรื่อย ๆ ผ่านการปฏิบัติ ประยุกต์ และปรับใช้ตามแต่สภาพแวดล้อมและสถานการณ์ที่หลากหลาย อันทำให้งานบรรลุผลดีขึ้นเรื่อย ๆCOP เป็น 1 ใน เครื่องมือของการจัดการความรู้ (KM Tools) ประเภท Non-Technical Tools สำหรับการดึงความรู้ประเภท Tacit Knowledge หรือ ความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคล ซึ่งซ่อนเร้นอยู่ภายในลักษณะที่สำคัญของ COP• กลุ่มคนที่รวมตัวกันโดยมีความสนใจและความปรารถนา (Passion) ร่วมกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง (มี Knowledge Domain)• ปฏิสัมพันธ์และสร้างความสัมพันธ์ในกลุ่ม เป็นชุมชน (community) ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน• แลกเปลี่ยนและพัฒนาความรู้ร่วมกัน ต้อง Practice และสร้างฐานข้อมูล ความรู้ หรือแนวปฏิบัติประโยชน์ของ COPระยะสั้น• เวทีของการแก้ปัญหา ระดมสมอง• ได้แนวคิดที่หลากหลายจากกลุ่ม• ได้ข้อมูลมากขึ้นในการตัดสินใจ• หาทางออก/คำตอบที่รวดเร็ว• ลดระยะเวลา และการลงทุน• เกิดความร่วมมือ และการประสานงานระหว่างหน่วยงาน• ช่องทางในการเข้าหาผู้เชียวชาญ• ความมั่นใจในการเข้าถึงและแก้ปัญหา• ความผูกพันในกรเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม• ความสนุกที่ได้อยู่กับเพื่อนร่วมงาน• ได้รู้จักเพื่อนใหม่ที่มีหลายสิ่งหลายอย่างคล้ายกัน รวมทั้งอาจกำลังเผชิญปัญหาที่คล้ายคลึงกัน เมื่อได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์จะทำให้ค้นพบวิธีแก้ปัญหาระยะยาว• เสริมสร้างวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขององค์กร• เกิดความสามารถที่ไม่คาดการณ์ไว้• วิเคราะห์ความแตกต่างและตั้งเป้าหมายการปรับปรุงได้อย่างมีประสิทธิภาพ• แหล่งรวบรวมและเผยแพร่วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ• เกิดโอกาสพัฒนาองค์กรอย่างก้าวกระโดด• เครือข่ายของกลุ่มวิชาชีพ• ชื่อเสียในวิชาชีพเพิ่มขึ้น• ได้รับผลตอบแทนจากการจ้างงานสูงขึ้น• รักษาคนเก่งให้อยู่กับองค์กรได้• เพิ่มโอกาสในการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ในองค์กร• ขับเคลื่อนให้องค์กรบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ลักษณะการทำ COP- แบบกลุ่มเล็ก และกลุ่มใหญ่- แบบเป็นทางการ (Public) - เปิดเผย และไม่เป็นทางการ (Private) - ส่วนตัว- แบบบนลงล่าง (Top Down) และรากหญ้า (Grass Root)- แบบแยกฝ่าย และคละฝ่าย- แบบคนในองค์กร-คนในองค์กร และคนในองค์กร-คนนอกองค์กร- แบบระหว่างคน-คน และระหว่างคน-สื่อ-คนKs ที่ดีต้องมีทั้ง Explicit และ TacitExplicit ต้องมีวิชาการ ทฤษฎี มาจากการสังเคราะห์วิจัยใช้สมอง เป็นกฎเกณฑ์ วิธีการ ขั้นตอนที่ผ่านการพิสูจน์Tacit ภูมิปัญญา เคล็ดวิชา ปฏิบัติ ประสบการณ์ มากจากวิจารณญาณ เป็นเทคนิค เฉพาะตัว เป็นลูกเล่นของแต่ละคน คลังความรู้ที่ดี


เขียนโดย ต๊ะ  ท่าหลา 046